ยุค/สมัย |
อิทธิพลของคนกลุ่มต่าง ๆ |
ผลต่ออาหารท้องถิ่นภูเก็ต |
ศรีวิชัย-ทมิฬโจฬะ |
เข้ามายึดครองดินแดนในภาคใต้ทั้งหมดรวมทั้งภูเก็ต |
อาหารที่เป็นอาหารท้องถิ่นประเภทเครื่องเทศ ( เครื่องซา) |
ศิริธรรมนคร |
ปกครองดูแลหัวเมืองปักษ์ใต้ในลักษณะหัวเมืองนักษัตร ภูเก็ตสุนัขนาม |
กลุ่มคนจากศิริธรรมนครที่เข้ามาดูแลหัวเมือง หรือ การเดินไปมาย่อมนำวัฒนธรรมการกินมาแลกเปลี่ยนกัน |
อาณาจักรสุโขทัย |
สมัยพ่อขุนรามคำแหง ได้เข้ามาปกครองหัวเมืองปักษ์ใต้ตลอดแหลมมลายู |
การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมทั้งด้านศาสนาและวัฒนธรรมด้นอาหาร |
อาณาจักรอยุธยา |
อนุญาตให้ชาวต่างประเทศเข้ามาตั้งถิ่นฐานในภูเก็ตเพื่อการค้าดีบุก ทั้งชาวฮอลันดา ฝรั่งเศส |
อาหารของตะวันตกเข้ามามีบทบาทในวัฒนธรรมอาหารของชาวภูเก็ต |
สมัยธนบุรี |
บทบาทของพ่อค้าชาวอังกฤษ กัปตันฟรานซีสต์ ไลท์ ในฐานะพ่อค้าและผู้แสวงหาอาณานิคมให้รัฐบาลอังกฤษ |
วัฒนธรรมอาหารจากอังกฤษเข้ามาผสมผสานกับอาหารท้องถิ่น ประกอบกับชาวอังกฤษผู้นี้แต่งงานกับผู้หญิงชาวภูเก็ต |
สมัยรัตนโกสินทร์ |
ยุคที่ 1 (สมัยรัชกาลที่ 1 – 3 ) ยุคแห่งศึกสงครามเก้าทัพ ในปี พ.ศ.2328 |
วัฒนธรรมอาหารจากคนกลุ่มต่าง ๆ ที่เข้ามามีบทบาทในเมืองถลางและภูเก็ต ย่อมทำให้เกิดการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมดั้งเดิมของคนท้องถิ่น และวัฒนธรรมอาหารใหม่จากการอพยพย้ายถิ่นของคนกลุ่มต่าง ๆ ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในภูเก็ต |